2. ขั้นตอนการผลิต Precast
2.1 การเตรียมโต๊ะผลิต Precast และอุปกรณ์การผลิต Precast
โต๊ะผลิต Precast และแบบข้าง จะถูกทำความสะอาดและทาน้ำมันเพื่อไม่ให้ผิวคอนกรีตเสียหายขณะถอดแบบเมื่อคอนกรีต set ตัวแล้ว
2.2 การลงเหล็กเสริมและอุปกรณ์
เป็นการลงเหล็กเสริมตามการออกแบบของผู้ออกแบบโครงสร้าง และใส่อุปกรณ์การผลิตต่างๆ เช่น ช่องเปิดสำหรับประตู หน้าต่าง ท่อฝังสำหรับสายไฟฟ้า
2.3 การตรวจความถูกต้องก่อนทำการเทคอนกรีต
เมื่อเข้าแบบข้าง, ลงเหล็กเสริมและอุปกรณ์ ทั้งหมดเรียบร้อย จะทำการตรวจสอบความถูกต้องทั้งหมดก่อนทำการเทคอนกรีต
2.4 การเทคอนกรีต
การจี้คอนกรีตด้วยเครื่องสั่น (Vibrator) เพื่อเนื้อคอนกรีตแน่นเสมอกัน การขัดผิวคอนกรีตด้วยเครื่องขัด เพื่อให้ผิวคอนกรีตด้านบนเรียบ
2.5 การสต็อคชิ้นงาน
หลังจากคอนกรีต set ตัวแล้ว จะทำการยกชิ้นส่วน Precast เข้าจัดเก็บในสต็อค เพื่อรอการจัดส่งไปไซท์งาน
3 ขั้นตอนการทำงานที่ไซท์งาน
ขั้นตอนการทำงานที่ไซต์งาน จะเริ่มต้นจากการตัดหัวเสาเข็มที่โครงการตอกแล้วเสร็จ, เทฐานราก, ติดตั้งคานชั้น 1, ติดตั้งพื้นชั้น 1, ติดตั้งผนังชั้น 1, ติดตั้งพื้นชั้น 2, ติดตั้งผนังชั้น 2, ติดตั้งผนังใต้หลังคา และทำระบบกันซึม
การทำระบบกันซึม มี 2 ลักษณะ คือ
1 การทำระบบกันซึมรอยต่อชิ้นส่วน พรีคาสท์Precast เพื่อกันน้ำซึมจากภายนอกบ้านเข้าสู่ภายในบ้าน
2 การทำระบบกันซึมพื้นห้องน้ำเพื่อกันน้ำซึมจากห้องน้ำลงสู่ด้านล่าง โดยวัสดุกันซึมที่ใช้จะเป็น Cement Base คือมีส่วนผสม Cement ลงในวัสดุกันซึม เพื่อให้ยึดเกาะกับปูนฉาบผิวบางได้